เทคโนโลยีอุตสาหกรรม

เกี่ยวกับเรา

คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร : เกี่ยวกับเรา


ประวัติความเป็นมาและข้อมูลพื้นฐาน

         คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเป็นคณะวิชาที่สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร มีภารกิจหลักในการผลิต บัณฑิตสาขาวิทยาศาสตร์ (วท.บ.) และสาขาครุศาสตร์(คบ. , คม.)   การก่อตั้งคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเริ่ม ต้น จากนโยบายของ ศาสตราจารย์บุญถิ่น อัตถากร อดีตอธิบดีกรมการฝึกหัดครู ที่ต้องการให้วิทยาลัยครู ผลิตครู อุตสาหกรรมศิลป์เพื่อไปสอนโรงเรียนในโครงการมัธยมแบบประสม (คมส.)ทั่ว ประเทศ จึงได้จัดทำโครงการเงิน กู้ จากต่างประเทศ เพื่อจัดตั้งแผนกอุตสาหกรรมศิลป์ ขึ้นที่วิทยาลัย ครูพระนคร ถนนแจ้งวัฒนะ เขตบางเขน กรุงเทพ ฯ เริ่มเปิดการเรียน การสอน ตั้งแต่ปีการศึกษา 2509 โดยมอบทุนการศึกษาให้นักเรียนจากวิทยาลัยครู ต่าง ๆ ทั่วประเทศเข้ามาเรียน อีก 2 ปี โดยได้รับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ. สูง อุตสาหกรรมศิลป์) ต่อมา ได้ร่วมมือกับวิทยาลัยวิชาการ ศึกษาประสานมิตร ผลิตบัณฑิต การศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) อุตสาหกรรมศิลป์ แล ะ สำเร็จการศึกษาปี พศ. 2512 เป็นรุ่นแรก


         พ.ศ. 2518 ประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาการฝึกหัดครู ฉบับ พุทธศักราช 2518 ให้อำนาจวิทยาลัยครูสามารถจัดการศึกษาได้ถึงระดับปริญญาตรี เป็นผลให้วิทยาลัยครูพระนคร ดำเนินการ จัดการศึกษาครุศาสตรบัณฑิต(ค.บ.) อุตสาหกรรมศิลป์ขึ้นเองและปรับเปลี่ยนระบบบริหารจากแผนกอุตสาหกรรม ศิลป์เป็น “คณะวิชาอุตสาหกรรมศิลป์”


        พ.ศ. 2527 ประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาการฝึกหัดครู พุทธศักราช 2518 (ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช2527) สาระสำคัญคือให้วิทยาลัยครู สามารถผลิตบัณฑิตสายอื่นได้นอกเหนือจากสายครู คณะฯจึงได้ผลิตบัณฑิตสาย วิทยาศาสตร์(วท.บ.)สาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมควบคู่กับการผลิตบัณฑิตสาย ครุศาสตร์ (ค.บ.)และเปลี่ยนชื่อคณะเป็น“คณะวิชาอุตสาหกรรมศึกษา”


        พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชทานชื่อ “ราชภัฏ” แทนชื่อวิทยาลัยครูและ มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏขึ้น ในปีพ.ศ.2538 ซึ่งสามารถจัดการศึกษาผลิตบัณฑิตได้้้้สูงกว่า ปริญญาตรี คณะฯ จึงได้ มีการ เปลี่ยนแปลงชื่ออีกครั้งเป็น “คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม” เพื่อให้ครอบคลุ ม ภาระก ิจที่เพิ่มขึ้น และได้พัฒนาหลักสูตรถึงระดับปริญญาโทครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาเทคโนโลย|ี อุตสาหกรรม และสามารถเปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ปีพ.ศ. 2541 เป็นต้นมา

พร้อมเป็นส่วนหนึ่งของเราชาวพระนคร